เวบบอร์ดโพสฟรี ใหม่ล่าสุด

หมวดหมู่ทั่วไป => ลงประกาศฟรี ลงประกาศฟรีออนไลน์ เว็บลงประกาศขายฟรี => ข้อความที่เริ่มโดย: siritidaphon ที่ วันที่ 19 เมษายน 2025, 22:09:58 น.

หัวข้อ: กินเค็มมากไป ไม่ใส่ใจสุขภาพ จุดจบอาจหยุดที่ “โรคไต”
เริ่มหัวข้อโดย: siritidaphon ที่ วันที่ 19 เมษายน 2025, 22:09:58 น.
กินเค็มมากไป ไม่ใส่ใจสุขภาพ จุดจบอาจหยุดที่ “โรคไต” (https://doctorathome.com/disease-conditions/298)

“กินเค็มมากๆ ระวังเป็นโรคไตนะ” ประโยคนี้จริงมากน้อยแค่ไหน มีปัจจัยอะไรอีกที่ทำให้เราเสี่ยงเป็นโรคไต แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังจะป่วยเป็นโรคไต หากเป็นแล้วจะรักษาได้หรือไม่ ร่วมสำรวจข้อมูลที่ทุกคนควรรู้เกี่ยวกับโรคไต

โรคไตคืออะไร?

โรคไต (Kidney Disease) คือ ชื่อเรียกภาวะผิดปกติเมื่ออวัยวะไตไม่สามารถขับของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนส่งผลต่อระบบอื่นๆ ของร่างกายซึ่งมีความสัมพันธ์กับไต เช่น

    ความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
    ความสมดุลของกรด-ด่างในเลือด
    การกรองของเสีย สารพิษ สารเคมีจากยาออกจากร่างกาย
    การทำงานของฮอร์โมนอีริโทรโพอิติน (Erythropoietin) ซึ่งทำหน้าที่เสริมสร้างเม็ดเลือดแดงให้เพียงพอ
    การสร้างวิตามินดีซึ่งเป็นวิตามินสำคัญในการเสริมความแข็งแรงของมวลกระดูก
    ความดันโลหิต
    ระบบการทำงานของหัวใจและปอด


โรคไตมีอะไรบ้าง?

จริงๆ แล้วทุกความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับไตสามารถนับเป็นโรคไตได้ทั้งนั้น เพียงแต่มีชื่อเรียกที่ต่างกันไปตามกลไกการเกิดโรค โดยโรคไตที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่

    โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease)
    โรคไตวายเฉียบพลัน (Acute Kidney Failure)
    โรคไตอักเสบ (Glomerular Disease)
    โรคกรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis)
    โรคนิ่วในไต (Kidney Stones)
    โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)

โรคไตเกิดจากอะไร?

โรคไตชนิดต่างๆ เกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้

    โรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคพุ่มพวง โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง
    อายุที่มากขึ้น โดยผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไปมักเสี่ยงเป็นโรคไตได้มากกว่าคนที่อายุน้อยๆ
    มีประวัติผู้ใกล้ชิดทางสายเลือดเคยป่วยเป็นโณคไตมาก่อน
    พฤติกรรมชอบกลั้นปัสสาวะ ซึ่งทำให้เสี่ยงติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ และทำให้ไตอักเสบจนนำไปสู่การเกิดโรคไตในภายหลัง
    พบเนื้องอกหรือเชื้อมะเร็งในไต
    การกินยาบางกลุ่ม หรือการกินสมุนไพรเป็นระยะเวลานานเกินไป
    การกินอาหารรสเค็มหรือมีโซเดียมสูงมากเกินไป ทำให้ไตขับโซเดียมส่วนเกินไม่ทัน จนไปสะสมอยู่ในเลือด ทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำเอาไว้มากขึ้น ไตจึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อขับน้ำที่เป็นส่วนเกินออกไปจากร่างกาย ซึ่งหากไตทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง ก็จะนำไปสู่ความเสื่อมที่เร็วขึ้น และทำให้เกิดโรคไตตามนั่นเอง


โรคไตมีกี่ระยะ?

ในผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง แพทย์จะแบ่งระยะของโรคนี้ออกเป็น 5 ระยะ โดยแบ่งตามประสิทธิภาพของอัตราการกรองของเสียของไต ได้แก่

    โรคไตเรื้อรังระยะที่ 1 มีค่าการทำงานของไต (eGFR) มากกว่า 90 มิลลิลิตรต่อนาที
    โรคไตเรื้อรังระยะที่ 2 มีค่าการทำงานของไต (eGFR) ประมาณ 60-89 มิลลิลิตรต่อนาที
    โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 มีค่าการทำงานของไต (eGFR) ประมาณ 59-30 มิลลิลิตรต่อนาที
    โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 มีค่าการทำงานของไต (eGFR) ประมาณ 15-29 มิลลิลิตรต่อนาที
    โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 มีค่าการทำงานของไต (eGFR) น้อยกว่า 15 มิลลิลิตรต่อนาที

ในช่วงระยะที่ 1 ของโรคไตเรื้อรัง ระบบการกรองของเสียและสารพิษของไตจะยังไม่ผิดปกติมากนัก แต่ผู้ป่วยก็ต้องรีบเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เนื่องจากหากโรคไตเรื้อรังเข้าสู่ระยะที่ 4 หรือ 5 แล้ว บทสรุปของโรคนี้อาจจบลงที่ผู้ป่วยมีอาการไตวาย ต้องฟอกไต หรือปลูกถ่ายไตเพื่อชดเชยไตที่เสื่อมตัวจนไม่สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้อีก


อาการของโรคไต

เมื่อไตไม่สามารถกรองของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกายได้อีก และยังไม่สามารถซ่อมแซมตนเองให้กลับมาทำงานได้ตามปกติ ผู้ป่วยโรคไตจะเริ่มมีอาการแสดงที่ผิดปกติออกมา โดยอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่

มีคำถามเกี่ยวกับ โรคไต? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

    มีปัญหาด้านการนอนหลับ
    อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
    น้ำหนักขึ้น
    ตัวบวม ขาบวม
    ผิวแห้งและมีอาการคัน
    คลื่นไส้อาเจียน
    ปากขมง่าย
    เบื่ออาหาร
    ปวดศีรษะ
    ปวดหลัง สีข้าง หรือบั้นเอว
    เป็นตะคริว
    กล้ามเนื้ออ่อนแรง
    ความดันโลหิตสูงขึ้น
    ประจำเดือนมาไม่ปกติ
    ความต้องการทางเพศลดลง
    ปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืน
    ปัสสาวะมีสีขุ่นหรือมีเลือดปน


การวินิจฉัยโรคไต

การตรวจวินิจฉัยโรคไตสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ โดยวิธีที่นิยมตรวจแบ่งออกได้ 2 วิธี ได้แก่

    เจาะเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อหาค่าของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญของกล้ามเนื้อ (Creatinine) อาจรวมถึงเพื่อดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด แร่ธาตุและสารละลายในเลือด น้ำตาลในที่สะสมอยู่ในกระแสเลือดด้วย
    เก็บตัวอย่างปัสสาวะ เพื่อหาค่าสารโปรตีนและเม็ดเลือดแดงซึ่งโดยทั่วไปจะไม่ปะปนอยู่ในปัสสาวะ แต่หากตรวจพบ ก็แสดงว่าไตคัดกรองของเสียไม่หมด จึงมีสารเหล่านี้เจือปนอยู่ในปัสสาวะด้วย
    การตรวจอัลตราซวด์ เพื่อดูภาพความผิดปกติของไต รวมถึงอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ


โรคไตรักษาอย่างไร?

การรักษาโรคไตจะเป็นการรักษาแบบประคองอาการ เนื่องจากโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยแบ่งออกได้ 2 แนวทางใหญ่ๆ ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจใช้การรักษาเพียง 1 แนวทางก็พอ หรืออาจต้องใช้ทั้ง 2 แนวทางร่วมกันเพื่อประคองอาการของโรคไตไม่ให้รุนแรงจนเกินไป ได้แก่


1. การรักษาเพื่อประคองความเสื่อมตัวของไต

เป็นการรักษาที่เน้นชะลอให้ไตที่เริ่มเสื่อมตัวอยู่ในระดับคงที่ โดยส่วนมากจะใช้วิธีดังต่อไปนี้

    ใช้ยารักษาไปตามอาการหรือโรคประจำตัวที่ทำให้เกิดโรคไต เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต ยาลดระดับไขมันในเลือด
    ปรับกิจวัตรการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กินอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงกินอาหารที่มีโซเดียมให้น้อย ไม่กลั้นปัสสาวะ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    ต้องลดน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หากน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือมีภาวะอ้วน


2. การรักษาเพื่อทดแทนความเสื่อมตัวของไต

เป็นวิธีรักษาในกรณีที่ไตของผู้ป่วยเสื่อมตัวรุนแรงจนไม่สามารถทำงานล้างของเสียในร่างกายได้อีกต่อไป ในกรณีนี้แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกไตเทียม เพื่อช่วยล้างของเสียหรือน้ำส่วนเกินที่ค้างอยู่ในร่างกายแทนไตที่ทำงานไม่ได้ หรือหากล้างด้วยเครื่องฟอกไตเทียมไม่ได้ ก็อาจเป็นการล้างไตทางช่องท้องแทน

หรืออีกวิธีก็คือ การปลูกถ่ายไต โดยแพทย์จะนำไตที่มีประสิทธิภาพจากผู้ที่บริจาคอวัยวะ แล้วผ่าตัดปลูกถ่ายทดแทนไตที่เสียหายให้กับผู้ป่วย


เป็นโรคไตห้ามกินอะไร?

เมื่อป่วยเป็นโรคไต ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยจะต้องไม่กินอาหารที่มีรสเค็มเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียม ซึ่งอาจไม่ได้มีรสชาติเค็มเสมอไป โดยรายชื่ออาหารที่ผู้ป่วยโรคไตควรงดให้มากที่สุด ได้แก่

    อาหารที่มีรสเค็ม
    อาหารหมักดอง
    เนื้อสัตว์แปรรูปหรือเนื้อสัตว์ปรุงรส เช่น ไส้กรอก หมูยอ แฮม หมูแผ่น
    ขนมขบเคี้ยว ขนมอบกรอบ
    อาหารกระป๋อง
    ซอสปรุงรส น้ำจิ้ม น้ำแกงราดข้าว
    อาหารที่มีส่วนประกอบของเนยนม ครีม
    เนื้อสัตว์ติดมัน เช่น หมูสามชั้น คอหมูย่าง
    อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงหรือมีคอเลสเตอรอลสูง
    อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง


โรคไตป้องกันได้ไหม?

เราสามารถป้องกันโอกาสเป็นโรคไตได้ง่ายๆ ผ่านการระมัดระวังพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม เช่น

    กินอาหารทุกมื้ออย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอาหารในกลุ่มที่มีโซเดียมสูงทุกชนิด ควรระมัดระวังไม่กินมากเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการ หรืออยู่ที่ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวันซึ่งโดยทั่วไป ประชากรชาวไทยมักรับโซเดียมเข้าร่างกายเกินกว่าปริมาณที่เหมาะสมอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นประเทศที่มีการปรุงอาหารรสจัดจ้านและเผ็ดเป็นส่วนมาก จึงต้องมีการระมัดระวังที่เข้มงวดมากขึ้นไปอีก
    ระมัดระวังไม่ให้สุขภาพตนเองเผชิญกับโรคประจำตัวอื่นๆ ที่เสี่ยงทำให้เกิดโรคไตในภายหลังได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
    เดินทางไปตรวจสุขภาพกับแพทย์ทุกปีไม่ให้ขาด เนื่องจากในรายการตรวจสุขภาพแทบทุกรูปแบบจะมีการเจาะเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจดูค่าการทำงานและปริมาณสารต่างๆ ที่อยู่ในร่างกาย ซึ่งบ่งชี้ถึงความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ ได้ รวมถึงโรคไตด้วย
    หลีกเลี่ยงไม่กินยาชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินความจำเป็น โดยเฉพาะยาแก้ปวดลดการอักเสบ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory: NSAIDs) ซึ่งหากกินสะสมอย่างต่อเนื่องก็สามารถกระทบต่อการทำงานของไตได้