เวบบอร์ดโพสฟรี ใหม่ล่าสุด
หมวดหมู่ทั่วไป => ลงประกาศฟรี ลงประกาศฟรีออนไลน์ เว็บลงประกาศขายฟรี => ข้อความที่เริ่มโดย: siritidaphon ที่ วันที่ 14 พฤษภาคม 2025, 17:34:59 น.
-
ทำไมโรงงานที่ไม่ติดฉนวนกันความร้อน จึงเสี่ยงขาดทุนมากเป็นพิเศษ (https://www.newtechinsulation.com/)
หัวใจสำคัญที่ผู้ประกอบการโรงงานทุกคนโฟกัสเป็นอันดับแรก ๆ ในการทำธุรกิจ คือการเพิ่มความสามารถในการผลิตให้ต้นทุนถูกที่สุดและทำกำไรให้ได้มากที่สุด แต่แม้ทุกคนจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็ยังมองข้ามการวางแผนติดตั้ง “ฉนวนกันความร้อน” ในโรงงานกันอยู่ดี
ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ฉนวนกันความร้อน คือหนึ่งในตัวช่วยที่จะทำให้โรงงานบริหารจัดการต้นทุนได้ดีมากขึ้น อันนำไปสู่การทำกำไรได้ตามเป้าหมาย ตรงกันข้ามโรงงานใดก็ตามที่ไม่ได้ติดตั้งฉนวนกันความร้อนเลย ไม่เคยตรวจสอบเรื่องความร้อนสะสมในโรงงานเลยนั้น จะเสี่ยงขาดทุนได้ง่ายมากเป็นพิเศษ เพราะการไม่ติดตั้งฉนวนกันความร้อนโรงงาน ส่งผลเสียต่อการดำเนินธุรกิจหลาย ๆ ด้าน ดังต่อไปนี้
1.ต้นทุนพลังงานจะเพิ่มขึ้นเมื่อโรงงานไม่ติดฉนวนกันความร้อน
เหตุผลอันดับแรกสุดที่ทำให้โรงงานไม่ติดฉนวนกันความร้อนเสี่ยงขาดทุนมากกว่าโรงงานที่ติดตั้งฉนวน ก็เพราะเมื่อโรงงานขาดฉนวนกันความร้อนแล้ว จะทำให้ความร้อนสะสมภายในโรงงานนั้นสูงมากเป็นพิเศษ ทั้งความร้อนจากดวงอาทิตย์ภายนอกตลอดทั้งวันที่ทะลุเข้ามาสะสมภายในโรงงาน และความร้อนจากกระบวนการผลิตภายใน จากเครื่องจักร จากเครื่องใช้ไฟฟ้า ระบบปรับอากาศต่าง ๆ
ซึ่งเมื่อความร้อนสะสมมากขึ้น เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า ระบบปรับอากาศจะทำงานหนักมากขึ้น จึงกินไฟมากขึ้นเป็นพิเศษ และหากไม่ได้มีการตรวจสอบปรับปรุงให้ดี ก็จะทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นโดยไม่รู้ตัว และเสี่ยงเจอกับภาวะขาดทุนได้ง่ายมากขึ้น
2.เครื่องจักรภายในโรงงานเสี่ยงชำรุดเสียหายหนักง่ายขึ้น
เป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำงานหนักขึ้นของเครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะความร้อนสะสมภายในโรงงานมีมาก ซึ่งเมื่อเครื่องจักรทำงานหนัก ก็มีโอกาสเสี่ยงชำรุดเสียหาย โดยหลายคนอาจมองว่า เสียหายก็แค่ซ่อม ยิ่งมีประกันก็อาจจะไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเท่าไร
แต่ในความเป็นจริง ความเสียหายที่ร้ายแรงยิ่งกว่าชนิดประเมินมูลค่าไม่ได้ก็คือ เครื่องจักรเสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ได้เร็วพอที่จะดำเนินการผลิตต่อได้ หมายความว่า พอเครื่องจักรพังแล้วต้องซ่อมนาน รอซ่อมหลายวันนั้น อาจทำให้ผลิตสินค้าไม่ทันตามกำหนดที่ให้ไว้ และเสียเครดิตในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงอาจถูกฟ้องร้องค่าเสียหายจำนวนมหาศาลได้อีกด้วย
3.เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน พนักงานทำงานด้อยประสิทธิภาพลง
ความร้อนที่สะสมภายในโรงงานมากจนเกินไปนั้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงงาน ซึ่งแน่นอนว่า จากที่เคยทำงานเร็วจะช้าลง จากที่ทำไม่ผิดพลาดจะเสี่ยงผิดพลาด จนอาจทำให้เกิดความล่าช้าเสียหายต่องานที่กำลังผลิตอยู่
แต่ที่ร้ายแรงที่สุดคือ ความร้อนที่สูงจนเกินไปอาจทำให้พนักงานไม่สบาย เวียนหัว เป็นลม ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่เป็นอันตรายรุนแรงต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินขององค์กร ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มากที่อาจกระทบต่อทั้งรายได้ ค่าใช้จ่าย ตลอดจนภาพลักษณ์ และความน่าเชื่อถือขององค์กร
4.เสี่ยงถูกสั่งปิดโรงงานได้เนื่องจากไม่ควบคุมสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดี
สืบเนื่องจากข้อ 3 หากเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้พนักงานได้รับบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ภายในโรงงาน จะทำให้มีการสืบสวนเกิดขึ้นว่าสาเหตุมาจากเรื่องใด โดยหากตรวจสอบพบว่าความร้อนสะสมภายในโรงงานมีมากเกินไป เกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด และเป็นผลทำให้พนักงานเกิดอุบัติเหตุในการปฏิบัติหน้าที่ล่ะก็ โรงงานจะถือว่ามีความผิด ในฐานะผู้ประกอบการที่ไม่ได้จัดสภาพแวดล้อมที่ดี เหมาะสม ต่อการปฏิบัติหน้าที่ และทำให้ถูกปรับ ดำเนินคดี ให้ปรับปรุงสภาพแวดล้อมโรงงาน ซึ่งหากฝ่าฝืน หรือดำเนินการล่าช้า ก็มีโอกาสที่จะถูกสั่งปิดโรงงานได้
จากผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ทั้ง 4 ข้อของการไม่ติดตั้งฉนวนกันความร้อนโรงงานนั้น จะเห็นได้ว่าฉนวนกันความร้อน มีความสำคัญกับโรงงานมาก โดยหากวางแผนติดตั้งอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการผลิต ช่วยลดต้นทุนพลังงาน ค่าไฟ ค่าเสื่อมสภาพได้เป็นจำนวนมาก แต่กลับกันหากโรงงานไร้ฉนวนกันความร้อน ก็มีความเสี่ยงที่จะเจอปัญหาค่าใช้จ่าย และปัญหาในเรื่องประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งไม่สามารถประเมินค่าความเสียหายได้เลย
ฉนวนกันความร้อนโรงงาน ฉนวนกันความร้อนคุณภาพดีที่ปัจจุบันได้รับความไว้วางใจจากโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ เนื่องจากมีความสามารถในการกันความร้อนสูง แข็งแรง ทนทาน ไม่ลามไฟ ติดตั้งง่าย และมีประเภทของฉนวนกันความร้อนหลากหลาย ครอบคลุมทุกตำแหน่งจำเป็น ไม่ว่าจะเป็น ฉนวนกันความร้อนสำหรับหลังคาโรงงาน สำหรับระบบปรับอากาศ สำหรับห้องเครื่องจักรอุณหภูมิสูง เป็นต้น