ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: โรคไข้รูมาติก  (อ่าน 56 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 274
    • ดูรายละเอียด
ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: โรคไข้รูมาติก
« เมื่อ: วันที่ 11 กันยายน 2024, 19:40:47 น. »
ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: โรคไข้รูมาติก

โรคไข้รูมาติก เป็นเกิดจากอาการอักเสบที่เป็นผลมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส การติดเชื้อแบคทีเรียนี้มักทำให้เกิดอาการคออักเสบและอาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงขึ้น ซึ่งรวมถึงความเสียหายถาวรต่อหัวใจและลิ้นหัวใจ โดยอาจรุนแรงจนนำไปสู่ภาะหัวใจล้มเหลวได้ ไข้รูมาติกสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ แต่ส่วนใหญ่จะส่งผลกระทบต่อเด็กที่มีอายุระหว่าง 5 ถึง 15 ปี การรักษาไข้รูมาติกมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความเสียหายจากการอักเสบ บรรเทาอาการปวด และอาการอื่น ๆ รวมทั้งป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรค

อาการไข้รูมาติก

ผู้ที่เป็นไข้รูมาติกอาจมีสัญญาณและอาการที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ข้อต่อ ผิวหนัง หรือระบบประสาทส่วนกลาง โดยสัญญาณและอาการดังกล่าวอาจรวมถึงอาการดังต่อไปนี้

    ไข้
    อาการปวดและกดเจ็บในบริเวณข้อต่อ โดยเฉพาะในข้อต่อบริเวณหัวเข่า ข้อเท้า ข้อศอก และข้อมือ
    ข้อต่อที่ร้อนหรือบวม
    ตุ่มที่ไม่เจ็บปวดใต้ผิวหนัง
    ผื่นที่ไม่เจ็บปวด
    อาการเจ็บหน้าอก
    เสียงฟู่ในหัวใจ
    อาการเหนื่อยล้า
    การเคลื่อนไหวของร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมได้
    พฤติกรรมที่ผิดปกติเช่น การหัวเราะ หรือร้องไห้ที่ไม่เหมาะสม


เมื่อไหร่จึงควรพบแพทย์

ขอแนะนำให้พาเด็กไปพบแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้

    อาการเจ็บคอ
    อาการเจ็บปวดขณะกลืน
    ไข้
    ปวดหัว
    ปวดท้อง
    คลื่นไส้
    อาเจียน


สาเหตุของโรคไข้รูมาติก

การติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสทั้งในลำคอหรือผิวหนังเป็นสาเหตุของไข้รูมาติก แบคทีเรียเข้าโจมตีระบบภูมิคุ้มกันซึ่งส่งผลให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อ ซึ่งรวมถึงเนื้อเยื่อของหัวใจ ข้อต่อผิวหนัง และระบบประสาทส่วนกลาง ช่วงเริ่มต้นของการอักเสบอาจก่อให้เกิดอาการเจ็บคอและโรคไข้อีดำอีแดง หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจพัฒนาเป็นไข้รูมาติก

ปัจจัยเสี่ยงโรคไข้รูมาติก

พบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่เพิ่มความเสี่ยงของไข้รูมาติก ได้แก่

    ปัจจัยทางพันธุกรรม
    เชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส
    ปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้แบคทีเรียแพร่กระจายได้ง่ายเช่น สถานที่ที่คนความแออัดและการสุขาภิบาลที่ไม่ดี


ภาวะแทรกซ้อน

โรคไข้รูมาติกอาจกินเวลาสองสามสัปดาห์ถึงหลายเดือน แต่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว ได้แก่

    ลิ้นหัวใจเสียหาย ไข้รูมาติกอาจทำให้เกิดความเสียหายของลิ้นหัวใจ ซึ่งทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลง ความเสียหายอาจรวมถึง
        ลิ้นหัวใจตีบ
        ลิ้นหัวใจรั่ว
    กล้ามเนื้อหัวใจเสียหาย การอักเสบอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลง ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการสูบฉีดของหัวใจ

ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้อาจนำไปสู่สภาวะหัวใจที่รุนแรงเช่น ภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดปกติและภาวะหัวใจล้มเหลว


การวินิจฉัยโรคไข้รูมาติก

การวินิจฉัยไข้รูมาติกเป็นการผสมผสานระหว่างการประเมินประวัติทางการแพทย์ การตรวจร่างกาย และการทดสอบหลายอย่างที่อาจรวมถึง

    การทดสอบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ (Swab test) แพทย์มักใช้การทดสอบการเช็ดคอกับเด็กและอาจไม่จำเป็นต้องทำการทดสอบแบคทีเรียอีก
    การตรวจเลือด แพทย์อาจต้องตรวจเลือดเพื่อ
        ตรวจหาแอนติบอดีต่อแบคทีเรียสเตรป
        ตรวจหาการอักเสบ
    การทดสอบคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG หรือ EKG) คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG หรือ EKG) ถูกใช้เพื่อบันทึกสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจเพื่อ
        ค้นหากิจกรรมทางไฟฟ้าที่ผิดปกติ
        กำหนดพื้นที่ที่ขยายใหญ่ขึ้นของหัวใจ
    การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) แพทย์อาจใช้การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อสร้างภาพของหัวใจเพื่อตรวจหาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ


การรักษาไข้รูมาติก

การรักษาไข้รูมาติกมีวัตถุประสงค์เพื่อ

    ทำลายเชื้อแบคทีเรีย
    บรรเทาอาการของโรค
    ควบคุมการอักเสบ
    ป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรค

การรักษาอาจรวมถึงการให้ยาหลายชนิดรวมทั้ง ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ และยากันชัก


การเตรียมตัวก่อนการพบแพทย์

ก่อนการนัดหมายคุณควรตระหนักถึงข้อจำกัดก่อนการนัดหมาย และคุณอาจเตรียมข้อมูลบางอย่างของบุตรหลานของคุณอันได้แก่

    อาการ
    ความเจ็บป่วยล่าสุด
    ยา วิตามิน และอาหารเสริมอื่น ๆ ทั้งหมดที่ใช้อยู่
    คำถามที่คุณต้องการถามแพทย์

ในระหว่างการปรึกษา แพทย์อาจถามคำถามบางอย่างรวมถึงข้อมูลเช่น

    จุดเริ่มต้นของอาการ
    การเปลี่ยนแปลงของอาการเมื่อเวลาผ่านไป
    ประสบการณ์ไข้หวัดหรือหวัด
    ประสบการณ์การเจ็บคอ
    ประวัติการได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคคออักเสบหรือไข้อีดำอีแดง
    การบริโภคยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาโรคคออักเสบหรือไข้อีดำอีแดง