การกำหนดกลุ่มเป้าหมายของสินค้า และการสร้างสตอรี่ให้กับแบรนด์ผ่านช่องทางการสื่อสารโฆษณาต่างๆ นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ซึ่งการสร้างคุณค่าของแบรนด์นั้นจะส่งผลต่อแบรนด์ของสินค้าหรือบริการโดยตรงที่จะเชื่อมโยงไปถึงส่วนที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ทุกคนนอกเหนือไปจากตัวบริษัทซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์เอง อาทิ ลูกค้า พนักงานร้านค้าที่นำสินค้าไปจำหน่าย นักลงทุน สถาบันการเงินซัพพลายเออร์ ฯลฯ
การสร้างแบรนด์จึงไม่ใช่เป็นเพียงการสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์เท่านั้นแต่ยังมีประโยชน์ด้านอื่น ๆ ด้วย ดังนี้
1. แบรนด์ทำให้เกิดความจดจำ เพราะปัจจุบันผู้บริโภคมีตัวเลือกสินค้าหรือบริการมากมายในตลาดจึงทำให้เกิดการแข่งขันในธุรกิจค่อนข้างสูงและส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากภาพลักษณ์ของสินค้าหรือบริการที่เห็นบ่อยตามช่องทางการสื่อสารต่างๆ เพราะเกิดความมั่นใจในตัวสินค้าหรือบริการนั้น ๆซึ่งการที่ผู้บริโภคเห็นสินค้าหรือบริการบ่อย ๆ นั้นเอง คือการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำของผู้บริโภค และเกิดการซื้อ และหากใช้ดีตั้งแต่ครั้งแรกผู้บริโภคก็จะเกิดการจดจำแบรนด์ไว้เพื่อซื้อซ้ำในครั้งต่อไป การสร้างแบรนด์จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการทำธุรกิจในปัจจุบัน
2. แบรนด์ช่วยในเรื่องของการออกแบบเพราะการสร้างแบรนด์ก็คือ การสร้างตัวตนและคาแรกเตอร์ของแบรนด์ขึ้นมา หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือการสร้างอัตลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของแบรนด์ฉะนั้นหากคุณสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ขึ้นมาได้ ก็จะทำให้การออกแบบในส่วนต่าง ๆของสินค้าหรือบริการนั้นง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำนามบัตรเพื่อแนะนำธุรกิจหรือแนะนำตัวคุณหรือพนักงาน การออกแบบแพ็กเกจจิ้งการทำเวบไซต์ธุรกิจ การสร้างคาแรกเตอร์พนักงานขายรวมทั้งพนักงานในองค์กรก็จะมีมุมมองของการทำงานไปในทิศทางเดียวกันนอกจากนี้ยังอาจรวมไปถึงการสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กรด้วย
3. แบรนด์ทำให้เกิดการสร้างมูลค่าของบริษัทและสินค้าหรือบริการเนื่องจากการสร้างแบรนด์นั้นทำให้เกิดการสร้าง Connection ที่จะส่งผลถึงชื่อเสียงของบริษัทและสินค้าหรือบริการหากชื่อเสียงของแบรนด์ดีและดังมากก็จะทำให้เกิดมูลค่าของแบรนด์สินค้าหรือบริการมากยิ่งขึ้นและส่งผลต่อมูลค่าของบริษัทด้วยที่จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจของผู้บริโภคหรือลูกค้าต่อการใช้สินค้าหรือบริการของคุณมองเห็นตัวอย่างที่ง่ายที่สุด คือ สินค้าพวกแบรนด์เนม หรือการบริการแบบลักชัวรี่ถึงแม้จะมีราคาสูง แต่ผู้บริโภคหรือลูกค้าก็ยินดีและเต็มใจที่จะจ่ายและจงรักภักดีต่อแบรนด์ของสินค้าหรือบริการนั้น ๆ เพราะรู้สึกคุ้มค่าและภาคภูมิใจในแบรนด์ หรืออีกตัวอย่างคือหากต้องการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ก็จะเป็นเรื่องง่ายและเกิดกระแสของนักลงทุนที่อยากจะเข้ามาลงทุนในหุ้นของบริษัทจำนวนมากรวมทั้งการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินด้วย นี่ก็คือ การสร้างแบรนด์ที่ทำให้เกิดมูลค่าของแบรนด์นั่นเองค่ะ
4. แบรนด์ทำให้การตลาดง่ายขึ้น เพราะการสร้างแบรนด์ทำให้สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายและตำแหน่งของสินค้าหรือบริการและลูกค้าได้ ทำให้นักการตลาดสามารถวางแผนการตลาดได้ง่ายขึ้นว่าจะโฟกัสเป้าหมายไปที่ใดและอย่างไรเพื่อสร้างยอดขายให้เกิดขึ้นได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ และสามารถชนะคู่แข่งได้
5. แบรนด์ทำให้พนักงานทำงานในทิศทางเดียวกัน ดังที่ทราบกันดีว่าเมื่อคุณสร้างแบรนด์คุณก็จะทราบถึงอัตลักษณ์ที่บ่งบอกตัวตนและลักษณะขององค์กรและสินค้าหรือบริการหรือแม้กระทั่งบ่งบอกถึงตัวตนของเจ้าขององค์กรเพราะบางแบรนด์ก็มีการกำหนดอัตลักษณ์ของแบรนด์ตามเจ้าของกิจการด้วยเช่นกันฉะนั้นการสร้างแบรนด์ก็จะทำให้พนักงานในองค์กรทราบถึงเป้าหมายขององค์กรรวมทั้งสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ว่าต้องการไปในทิศทางใดพนักงานในองค์กรจะทำงานด้วยความเข้าใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและมีเป้าหมายร่วมกันค่ะ
นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือนอกจากการสร้างแบรนด์จะทำให้เกิดความจงรักภักดีของผู้บริโภคหรือลูกค้าที่มีต่อแบรนด์แล้วยังทำให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าพร้อมจะปกป้องแบรนด์ด้วย หากเกิดปัญหาหรือวิกฤติใด ๆขึ้นกับสินค้าและบริการของแบรนด์
ประโยชน์ของการสร้างแบรนด์ให้กับธุรกิจ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://businesssmarttools.com/